Mobile Application Development Strategy For Thailand S Narum

ณ ปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile) ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการพกพา และมีความสามารถในการทำงานได้เสมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ ขนาดเล็ก สามารถพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆได้ มีน้ำหนักเบา ใช้พลังงานค่อนข้างน้อย มักใช้ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ติดต่อ แลกเปลี่ยนข่าวสารกับคอมพิวเตอร์ได้ และที่สำคัญคือ สามารถเพิ่มหน้าที่การทำงานได้ โดยอาศัย Software Mobile โดยจัดแบ่งตาม OS จะได้ 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ คือ

1. Smart Phone ใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian (มีส่วนแบ่งในตลาดของผู้ใช้สูงมาก) และ Linux (มีการใช้บ้าง แต่ยังไม่มากนัก)
2. Palm ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS
3. Pocket PC ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows CE (มาจากคำว่า Compact Edition มักนิยมเรียกว่า Windows Mobile)

นอกจากนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่บางประเภทยังสามารถใช้ Application ต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับการรับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงได้อีกด้วย เรียกว่า Mobile Application
Mobile Application คือ Application ที่มีการพัฒนา Software เพื่อที่จะใช้กับ Mobile เช่น
iPhone Apps , Black Berry , Android etc.

ตัวอย่าง : Mobile Application

78wn1.jpg

1. ประเภทของอุปกรณ์เคลื่อนที่
อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile device) แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
– Mobile Standard PC
– Mobile Internet Device (MID)
– Handhelds
– Smartphone
– Feature phone
– Simple phone
– Special Terminal

2. มูลค่า Mobile Application ของโลก

6eew3.jpg

ที่มา: Booz & Company Analysis

3. เปรียบเทียบสัดส่วนตลาด Mobile Application ในประเทศ

gkrr4.jpg

สรุป มูลค่าตลาด Mobile Application ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของ Application ในกลุ่มธุรกิจ

4. ตัวชี้วัดสำคัญของตลาด Mobile Application ของไทย ปี2550-2552 ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

p1zi5.jpg

5. ห่วงโซ่มูลค่า (Value chain) กรณีศึกษาของ Apple

yex06.jpg

6. Vertical Services

7lgz7.jpg

7. เปรียบเทียบลักษณะตลาดของ Mobile Application

ku028.jpg

8. ทิศทางการพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

w7vs9.jpg

9. ตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
• อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีอัตราการเติบโตสูงในประเทศไทย ได้แก่ Smartphone และ PDA Phone โดยมีอัตราการเติบโตในปี 52-53 ประมาณ 12% และ 30% ตามลำดับ
• ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือ MID เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ การออกแบบตัวเครื่องให้มีความทันสมัย รวมถึงการรองรับการใช้งาน
User Interface และ Application ที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้
• การตลาดที่สำคัญของอุปกรณ์ MID จะต้อง Focus ไปที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้มีความเข้าใจในการใช้งานเป็นอย่างดีอยู่แล้วโดยเสริมจุดขายด้วยความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ความเร็วสูง ซึ่งจำแนกตาม Operating System โดย Smartphone คือเครื่องที่ใช้ OS ในกลุ่ม Symbian, UIQ ขณะที่ PDA Phone คือเครื่องที่ใช้ OS ในกลุ่ม Windows
Mobile, Android, iPhone และ Blackberry

10. ทิศทางการใช้ Mobile Application

10.1 แนวโน้มทางด้านพฤติกรรมผู้ใช้ (Demand Behavior: Worldwide)
• จากการสำรวจของ Gartner ในกลุ่มผู้ใช้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ พบว่า ความต้องการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของ Social Media ซึ่งกลายเป็นธุรกิจสำคัญในประเทศที่พัฒนาแล้ว
• ความต้องการใช้บริการ Mobile Video, Mobile Email และ Social Site เพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ แต่บริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น Mobile Instant
Messaging

10.2 Internet Application ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด

vj310.jpg

ผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 13-24 ปี

10.3 การใช้แอพพลิเคชั่นในกลุ่ม Social และ Entertainment Applications

cf311.jpg

จากการสำรวจพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่จะใช้ Application ในส่วนของ e-mail มากที่สุด

10.4 การใช้งาน mobile service ทั่วโลก

h6z12.jpg

จากการสำรวจบริการ SMS/MMS มียอดผู้ใช้บริการสูงที่สุด และรองลงมาเป็นการดาวน์โหลดเพลงและ
โลโก้ Wallpaper ต่างๆ

10.5 จากการสำรวจพบว่า ผู้คนใช้โทรศัพท์มือถือทำอะไรมากที่สุด
อันดับหนึ่ง คือ ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพมีถึง 76% และมากกว่าการใช้เพื่อรับส่ง SMS หรือ Text Message ที่ตามมาอันดับสอง 72% ถัดมา คือ การใช้ Internet, เล่นเกม และรับส่งอีเมล์

gox13.jpg

ดังนั้นบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายบริษัทจึงได้จัดทำ Mobile Application จำนวนมากเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

10.6 Mobile Application ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุด
หลายคนอาจจะคิดว่า Social Networking คือ กิจกรรมยอดนิยมทางโทรศัพท์มือถือ แต่หากมองว่า Application ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดก็ต้องยกให้กับเกม ข่าว และแผนที่ ตามตัวเลขอ้างอิงจาก Nielsen Playbook

zn714.jpg

11. แนวโน้ม10 อันดับ Application บนมือถือที่จะต้องใช้ ในปี 2012
มือถือในปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนา application ต่างๆขึ้นมามากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่ในอนาคตอันใกล้ มีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Gartner ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการวิจัยทางด้านธุรกิจและเทคโนโลยี กล่าวไว้ว่า ต่อไปตลาดของ application จะเข้าสู่ความเป็น niche หรือตลาดที่เป็นของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือพูดง่ายๆว่า เฉพาะเจาะจงความต้องการเฉพาะกลุ่มเลยทีเดียว ไม่เน้น mass หรือ ตลาดกว้างๆ เจาะลูกค้าทุกระดับ ซึ่งเค้าเรียก application พวกนี้ว่า ‘killer application’ และผู้คนจะใช้ application ในมือถือไม่เกิน 5 อย่างเท่านั้น(ในแต่ละช่วงเวลา) แม้ว่าจะมี application จำนวนมากออกมาก็ตาม
นอกจากนี้ ทาง Gartner ยังได้มีการพยากรณ์แนวโน้มของ application ที่ผู้คนจะใช้มากที่สุด ในปี 2012 เอาไว้แล้วด้วย ซึ่งก็มีทั้งหมด 10 ข้อดังต่อไปนี้

11.1. Money Transfer : การโอนเงินผ่านมือถือ

11.2. Location-Based Services (LBS) : การให้บริการข้อมูลบนมือถือ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ๆอุปกรณ์มือถือนั้นอยู่ ผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย

11.3. Mobile Search : จุดประสงค์หลักของบริการนี้ก็เพื่อส่งเสริมการขายและโอกาสทางการตลาดบนมือถือนั่นเอง มีการวิเคราะห์ว่า ถ้าลูกค้าติดใจกับบริการ search หรือการค้นหา
สินค้าและบริการ(หรืออื่นๆ)ของผู้ให้บริการรายใดแล้ว ก็มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนง่ายๆและจะกลับมาใช้บริการอีกเรื่อยๆ

11.4. Mobile Browsing : การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ก็ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานของโทรศัพท์สมัยใหม่อยู่แล้ว ซึ่ง application นี้ก็ยังเป็นหัวใจหลักของมือถืออยู่และจะมีการพัฒนาต่อไป
เรื่อยๆ

11.5. Mobile Health Monitoring : เป็นบริการที่มีไว้เพื่อคอยเฝ้าดูผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาล คือว่า อยู่บ้านก็ได้แต่ว่า ต้องได้รับการ
ดูแลอย่างต่อเนื่อง บริการนี้จะช่วยให้หน่วยงานทางด้านสุขภาพสามารถติดตามอาการผู้ป่วยได้ตลอดโดยประหยัดค่าใช้จ่ายลงจากเดิมและช่วยเพิ่ม
คุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยด้วย

11.6. Mobile Payment : เป็นทางเลือกในการจ่ายเงินเวลาที่ช่องทางจ่ายเงินอื่นๆไม่สะดวก, เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ผู้ใช้บริการ และช่วยเพิ่มเพิ่มปัจจัยในการยืนยันตัวตนของ
ลูกค้าเพื่อเป็นการเพิ่มระดับของความปลอดภัยของข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง

11.7. Near Field Communication Services (NFC) : การเชื่อมต่อสัญญาและถ่ายโอนข้อมูลในระยะใกล้

11.8. Mobile Advertising : การโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

11.9. Mobile Instant Messaging หรือ การแช็ตกันผ่านมือถือ : การรับส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

11.10. Mobile Music : บริการเพลงประเภทต่างๆ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่

12. แนวโน้มการให้บริการ Mobile Application ในประเทศไทย

12.1 Banking Services
ได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจ โดยบริการที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำและมีความสะดวกรวดเร็ว นอกจากนั้น Mobile Banking ยังเป็นกลุ่มแอพพลิเคชั่นที่มีโอกาสเติบโตค่อนข้างมาก เพื่อรองรับการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ อาทิเช่น online banking และ internet wealth manager อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราการใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ อาทิ ต้นทุนค่าบริการ ความปลอดภัย การหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งหากขจัดอุปสรรคดังกล่าวได้ การให้บริการในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต

12.2 Location Based Services
ได้รับความนิยมเพิ่มสูงมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการได้หลากหลาย นับตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจ สนับสนุน social networking รวมถึงตอบสนองความต้องการและความสนใจในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยแนวโน้มภายในประเทศไทยการให้บริการ LBS ที่ตอบสนองความต้องการทางด้าน social networking จะกลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในการให้บริการ LBS ในอนาคต ปัจจุบันผู้ให้บริการต่างประเทศได้ให้ความสำคัญในการให้บริการประเภทนี้อย่างสูง เช่น การให้บริการชี้พิกัดสำหรับสมาชิกที่ใช้บริการ Facebook
เป็นต้น

12.3 Cloud Based Services
ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนที่มีหน่วยความจำจำกัด แต่สามารถเรียกใช้งานหรือดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้จากผู้ให้บริการผ่านเว็บได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นยังได้รับการตอบรับในแง่ของการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว ผลักดันให้การผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่ต้องมีการรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นฟังก์ชั่นสำคัญนอกจากนั้นแล้วยังช่วยให้เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้บริการตรวจสภาพจราจรผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบ real time เป็นต้น

12.4 Advertising Services
มีสัญญาณบ่งชี้หลายประการว่าการให้บริการโฆษณาผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่จะได้รับความนิยมในอนาคต เนื่องจากสามารถโฆษณาได้ตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, สถานที่และกลุ่มเป้าหมาย ความนิยมดังกล่าวเป็นผลมาจากการพัฒนาอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้มีหน้าจอขนาดใหญ่ รวมถึงความคมชัดของรูปภาพ ปัจจุบันการทำ Mobile Advertising มีอยู่ด้วยกัน หลายวิธี ได้แก่ การส่ง SMS หรือ MMS, Banner บน mobile sites, Mobile search ads และ in-application advertising ซึ่งเป็นการแสดงโฆษณาเป็นรูปหรือข้อความ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังคงเป็นการทำ Mobile Advertising ผ่าน SMS เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูล ในอนาคตเมื่อมีการให้บริการ 3G ก็คาดว่า Mobile Advertising ในรูปแบบอื่นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น

Reference
http://www.choopong.com/blog/tag/mobile-application/
http://www.smartmobile.co.th/pda/windowmobile/window-mobile.asp
http://www.marketingoops.com/news/tech-mobile/app-download/
http://www.choopong.com/blog/2010/06/20/what-difference-between-software-vs-application-vs-program/
http://suntos.wordpress.com/2009/12/22/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%A110-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-application-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7/
http://rungruthaicom.ipage.com/blog/uncategorized/11-online-trends-2011/
http://203.185.96.228/virach/sites/default/files/paper/TMA-virach-TMAS2010a.pdf