It Strategy Part 2

VDO ประกอบการเรียน
IT Staregy ( ICT Cluster ) http://vimeo.com/22520762

IT influences on Porter’s Competitive Forces Model

flickr:5624673468

1. The threat of new entrants
อำนาจการต่อรองของลูกค้ามีมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งลูกค้าสามารถเปรีบยเทียบราคาได้ง่าย ทำให้การ Switching cost นั้นลดลง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเสียเวลาในการ Switching ในแต่ละครั้ง
Switching cost คือ ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้าขาประจำ ถ้าลูกค้าคนนั้นชิ่งหนีจากการใช้สินค้าหรือบริการของผู้ค้ารายเดิม แล้วเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของผู้ค้ารายอื่นแทน เช่น ลูกค้าที่ยอมใช้สายการบินเดียวตลอด เพื่อรักษา Mile Stone ที่สะสมไว้

2. The bargaining power of suppliers
อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์มีทั้งต่ำและสูงในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากบริษัทสามารถเข้าถึงซัพพลายเออร์ได้มากขึ้น และซัพพลายเออน์สามารถเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นเช่นกัน

3. The bargaining power of customers (buyers)
ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนมากขึ้น เนื่องจากสินค้าที่สามารถแปรรูปให้อยู่ในรูปของ Digital จึงทำให้เกิดสินค้าทดแทนมากขึ้น

4. The threat of substitute products or services
ผู้ประกอบการรายใหม่ เข้ามาได้ง่ายขึ้น จัดอยู่ในรูปแบบของ E-commerce เนื่องจากการทำธุรกิจแบบเดิมที่ต้องมีหน้าร้าน มีคนเก็บเงิน และมีการลงทุนสูง แต่การลงทุนใน internet ถือว่าเป็นการลงทุนที่ต่ำมาก และในบางครั้งแทบจะไม่มีการลงทุนเลย เช่น การขายของใน E-bay จึงทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาได้ง่าย

5. The rivalry among existing firms in the industry
การแข่งขันในอุตสาหกรรมจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ง่ายซึ่งอาจจะเกิดการลอกเลียนแบบได้ง่ายขึ้น ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการการทำธุรกิจ จึงทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมรุนแรงขึ้น

การแข่งขันของ Porter มี 2 อย่างคือ

Zero sum คือ เป็นการแข่งที่ตั้งราคาเป็นหลักและไม่มีใครเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน Positive sum คือ เป็นการแข่งที่บริษัทนำเสนอสินค้า ในหลายแง่มุมตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะเน้นในเรื่องของ Innovation และ Creativity เป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงราคาของสินค้า

Four generic strategies

o Low-cost leadership IT เข้ามาช่วยในการลดค่าใช้จ่ายของผลิตภัณท์และบริการ เช่น Wal-Mart , Dell
o Product differentiation IT สามารถเข้ามา Support กลยุทธ์ โดยนำเสนอผลิตภัณท์และบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เช่น Google , iPhone
o Focus on market niche IT สามารถ Focus ตลาดใดตลาดหนึ่ง โดยใช้ระบบข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เช่น HARA, Hilton Hotel
o Strengthen customer and supplier intimacy IT ช่วยในการสร้าง Switching cost และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ เช่น Chrysler , Amazon , สายการบิน
- The Internet’s impact on competitive advantage Internet เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถ convert ให้อยู่ในรูปของ Digital ได้ ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรง

The Value Chain

เป็นโมเดลที่วิเคราะห์กระบวนการการทำธุรกิจภายในองค์กรของบริษัท เป็น Chain ในการผลิตสินค้าและการบริการของบริษัท โดยในแต่ละองค์กรจะมีอยู่ 2 กิจกรรม คือ

flickr:5624084361

1. Primary activities (กิจกรรมหลัก)

เป็นกิจกรรมหลักที่มีผลโดยตรงต่อการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งในกิจกรรมหลักนั้นมีอยู่ 5 กิจกรรมย่อย คือ

- Inbound Logistics คือ กระบวนการนำวัตถุดิบเข้ามา
- Operations คือ กระบวนการแปลงวัตถุดิบให้เป้นสินค้าหรือบริการต่างๆ
- Outbound Logistics คือ กระบวนการนำส่งสินค้าให้กับลูกค้า
- Marketing and Sales คือ กระบวนการการตลาดและการสนันสนุบการขาย
- Service คือ กระบวนการการบริการหลังการขาย

ตัวอย่างกรณีสายการบิน

- Inbound Logistics ได้แก่ ระบบการซื้อตั๋วจองตั๋วใน E-Ticket
- Operations ได้แก่ กระบวนการส่งลูกค้าไปยังจุดหมายปลายทาง
- Outbound Logistics ได้แก่ ระบบ RFID ที่ใช้ในการแพ็คกระเป๋า
- Marketing and Sales ได้แก่ กระบวนการการตลาดและการสนันสนุบการขายระบบออนไลน์
- Service ได้แก่ กระบวนการบริหาร Mile Stone

2. Support activities (กิจกรรมเสริม)

เป็นกิจกรรมที่เข้ามาเสริมกับกิจกรรมหลัก เช่น Admin , HR , Accounting เป็นต้น
บทบาทของ IT จะเข้าไปช่วยในการลด Cost และ เพิ่ม Value ให้กับสินค้า

DIAMOND MODEL

flickr:5624084435
เป็นโมเดลที่เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจในระดับ Cluster และอุตสาหกรรม โดยมีอยู่ 4 ปัจจัยหลัก คือ

o Factor (input) Condition ปัจจัยการนำเข้าของวัตถุดิบไปยัง Cluster และอุตสาหกรรม
o Related and Supporting Industries ซัพพลายเออร์ที่อยู่ในพื้นที่นั้นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
o Context for Firm Strategy and Rivalry รูปแบบของการแข่งขันในอุตสาหกรรม
o Demand Conditions ความต้องการของผู้บริโภค

ICT Cluster

flickr:5627878982

Cluster คืออะไร Cluster เป็นการรวมกลุ่มในการพัฒนาด้าน ICT เป็นการสร้างความร่วมมือ สร้าง Innovation เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน โดย ICT Cluster ในปะเทศไทย ยังเกิดขึ้นน้อยมาก เราต้องมีการlistผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของเรา เวลาพูดถุงclusterจะประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องใน supply chain สถาบันของรัฐ สมาคมต่างๆด้วย เช่น การรวมกลุ่มธุรกิจยานยนต์ในประเทศไทย

flickr:5627881008
flickr:5627295157

อุตสาหกรรมหลักต่อ ICT ในประเทศไทย ที่นั้นแบ่งได้เป็น4ด้านใหญ่ๆดังนี้คือ Hardware, Service, Software และTelecommunications

ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware)

ตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยที่มาส่งเสริมการขยายตัวของตลาดที่สำคัญได้แก่ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจกับ ICT มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เนทหรือการติดต่อสื่อสารทาง สังคมออนไลน์ (Social Network) มีบทบาทเพื่มขึ้น นอกจากการใช้งานเพื่อค้นหาข้อมูล หรือรับ-ส่ง email อีกทั้งการที่ค่าบริการอินเตอร์เนทที่ถูกลงส่งผลให้ความต้องการใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เนทเพิ่มขึ้นตาม ในขณะเดียวกัน การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการที่รุนแรงทำให้ต้องแข่งขันกันทั้งด้านราคาที่ ต่ำลง และการพัฒนาคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ต้องการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการและลดต้นทุนในการทำงาน แต่ก็มีอุปสรรคในการเติบโตนั่นก็คือ ความไม่มั่นคงทางการเมือง สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายของครัวเรือน

ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Service)

สามารถแบ่งการบริการด้านคอมพิวเตอร์ได้เป็น 8 ประเภทด้วยกัน คือ
(1) System Integration
(2) Network Services Software
(3) Maintenance Services
(4) Hardware Maintenance Services
(5) Data Center and Disaster Recovery Services
(6) IT Related Training & Education
(7) IT Consulting 8. IT Outsourcing

ปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์คือแนวโน้มที่มีการ ปรับเปลี่ยนวิธีการจำหน่าย Software จากในรูป Package หรือรับ Customized Software มาอยู่ในรูปของการบริการเช่าใช้ตามการใช้งาน หรือที่ทั่วไปเรียกว่า Software as a Service มากขึ้น อีกทั้งการที่บริษัทฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์เริ่มเข้ามาสู่ตลาดบริการมากขึ้นนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์โตขึ้นอย่างมาก

ตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Computer Software)

ตลาดซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักได้แก่
(1) Enterprise Software
(2) Mobile Applications Software
(3) Embedded System Software และ
(4) ซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้จัดอยู่ใน 3 กลุ่มข้างต้น เช่นซอฟต์แวร์เกม ซอฟต์แวร์เฉพาะด้านต่างๆ เป็นต้น
การใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลักคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้น ตัวเด่นชัด และยังมีผลมาจากตลาดมีแนวโน้มในการใช้ซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการมากขึ้น ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการใช้ซอฟต์แวร์ในแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก แต่การดำเนินงานในแต่ละองค์กร ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปใช้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบออนไลนมากขึ้น ทำให้มูลค่าตลาดซอฟต์แวร์บางส่วนย้ายไปอยู่ในตลาดการบริการด้านคอมพิวเตอร์ แทน ส่งผลให้แนวโน้มตลาดการบริการด้านคอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ตลาดสื่อสาร (Communication)

ตลาดสื่อสารสามารถแบ่งออกได้เป็น
(1) ตลาดอุปกรณ์สื่อสาร (Communication Equipments)
(2) ตลาดบริการด้านการสื่อสาร (Communication Services)
เมื่อพิจารณาภาพรวมของปี 2552 จะพบว่ามีแนวโน้มและทิศทางการเติบโตที่ลดลงจากปีที่ผ่านๆมา เนื่องมาจากปัจจัยจากวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมือง และความไม่มั่นคงของนโยบายของรัฐ หากพิจารณามูลค่าของตลาดสื่อสารจะพบว่าแรงขับเคลื่อนส่วนใหญ่ยังมาจากตลาด บริการสื่อสารเป็นหลัก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 ของตลาดสื่อสารทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 235,466 ล้านบาท แต่ถึงอย่างไรก็ตามพบว่า การใช้บริการเสียงทั้งแบบใช้สายและไร้สายถึงจุดอิ่มตัว ทำให้บริการสื่อสารต้องหันมามุ่งเน้นที่การให้บริการสื่อสารข้อมูลมากขึ้น แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในประเทศก็ยังไม่เพียงพอต่อการรอง รับความต้องการทั้งในเรื่องของคุณภาพที่เสถียรและความครอบคลุมของเครือข่าย

ซึ่งทั้ง4ด้านมีปัจจัยสนับสนุนคือ Supporting Industries
-Softwere Development
-Network Provider
-Service Provider
-Computer Device

และมีธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องICT (Relate Industries)
-Logistic ระบบการจัดส่งสินค้า
-Programming service ธุรกิจด้านการให้บริการต่างๆ
-Marketing Servicesผู้ให้บริการด้านการตลาดและการโฆษณา
-Maintenance services
-Financial Institute ธุรกิจและสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทางการเงิน
-ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน

ภาครัฐ,เอกชนและหน่วยงานสถาบันวิจัยที่ดูแลและพัฒนาระบบICTในประเทศไทยมีดังนี้
Government
-MICT กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-NECTECT ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คโทรนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(สวทช)
-TOT องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ท.ศ.ท)

flickr:5627296001

ทำไมclusterจึงสำคัญเพราะทำให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างภาคอุตสาหกรรม สามารถที่จะเข้ามากำหนดมาตราฐาน ของคุณภาพสินค้าและบริการที่อยู่ในภาคนี้ สามารถใช้บุคลากรร่วมกันได้ เพราะตอนนี้ไม่มีธุรกิจใดที่อยู่รอดด้วยตัวคนเดียว เช่น ทางด้าน supportingก็ประกอบไปด้วย food supply, property service ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น service banks และมีสถาบันการศึกษา เช่น ถ้าเรามีโรงแรมระดับห้าดาว แต่ไม่มีสายการบินไหนไปถึง ถนนหนทางไปไม่ถึง อาชญากรรมก็เยอะ ร้านอาหารไม่อร่อย แล้วเราจะอยู่รอดไหม เช่นเดียวกันนี่คือความสำคัญของcluster เป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปแบบของwin win situation

flickr:5627293807

การนำเสนอ paper ICTcluster ไปเปรียบเทียบกับด้านของdimond model
ประกอบไปด้วย ด้านบวกของประเทศไทยหลักๆคือ ด้านภูมิศาสตร์ สถาบันการศึกษาวิจัย,แหล่งเงินทุน ด้านปัจจัยลบ
โครงสร้างพื้นฐานของเราปัญหาหลักๆคือ ปัญหา digital devide ตอนนี้คนไทยใช้อินเตอร์เนท 24ล้านจาก66ล้านคน เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ค่อนข้างต่ำ เราขาดแคลนบุคคลากร เราใช้ google, e - bay ,paypond วัดจากจำนวน ผู้ที่สมัครinternet ที่เก็บมาจาก ISP ด้านสภาพแวดล้อม การตลาด service เติบโตสูง มีการเปิดเสรีแข่งขัน ด้านลบ สัมปทานจากภาครัฐ การแข่งขันยังเป็นเรื่องของราคา การเงิน และการละเมิดทรัพสินทางปัญญา
ปัจจัยบวกcluster มีการร่วมมือ ค่อนข้างหลวม มีการลงทุนจากต่างชาติ เราเป็นฐานการผลิตIC โดยเฉพาะIC
hard discเป็นอันดับหนึ่งของโลก ปี2005มีบ. Western digital อย่างซีเกต ฟูจิสึ เข้ามาลงทุน hard disc
Demand condition ตลาดที่โตสูงสุดคือตลาดmobile แต่เทคโนโลยีใหม่เราตามหลัง3G Wimax เป็นเรื่องของ divide condition การแข่งขันยังเป็นการแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก สัมปทานจากภาครัฐการพัฒนานวัตกรรม เป็นไปอย่างจำกัด ไม่ได้พัฒนาตัวเอง
Model Leapitt 1969 เป็นทฤษฎีที่ระบุว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่มีการนำเทคโลโลยี เข้ามาใช้ในองค์กร องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนในด้านของคน โครงสร้าง ของกระบวนการภายใน การทำธุรกิจในเวลาเดียวกัน ปัญหาหลักๆ เกิดที่ตัวโครงสร้างและคน ประเด็น หลายองค์กร เปลี่ยนเทคโนโลยีแต่ไม่เปลี่ยนคน กระบวนการภายในองค์กร เช่น ERP softwere ที่ปฏิบัติการในองค์กร 70% ล้มเหลวมาจากเรื่องคนที่ต่อต้าน,ระบบ CCTV แนวคิดที่จะลดตำรวจจราจร ทำให้ผลประโยชน์ ตำรวจจราจรลง
เทคโนโลยีมีประโยชน์มากแต่จะมีผลบางส่วนขององค์กรที่เสียประโยชน์

ทฤษฎีที่สำคัญ (TAM) The technology Aceptance Model

ระบุว่าถ้าเรามองว่าความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีขององค์กร เทคโนโลยีลงทุนไปเยอะ แต่ผู้ใช้ต่อต้าน

ผู้ใช้จะเกิดการใช้ จะต้องเกิดจากมีความตั้งใจที่ใช้ เกิดจากปัจจัย สองตัว

1.ผู้ใช้รู้สึกว่าเทคโนโลยี เป็นประโยชน์ต่อการทำงานใช้เวลาลดลงในการทำงาน
2.รู้สึกว่าเทคโนโลยีง่ายต่อการใช้งาน

หลายครั้งที่ล้มเหลวพราะ คนในองค์กรมองไม่เห็นประโยชน์ และยากต่อการใช้งาน
บทบาทของผู้บริหารต้องสื่อให้ได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างไรในการใช้งาน

flickr:5627296305

นวัตกรรมแนวคิด ไอเดียใหม่ๆ เช่นนวัตกรรมเกิดขึ้นยังไงหลายคนพูดถึงนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ แนวคิดไอเดียอธิบายถึงนวัตกรรม ทฤษฎีที่อธิบายการแพร่กระจายไปสู่สังคมหลังจาที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นจนกระทั่งมีการใช้นวัตกรรม ทฤษฎีนี้เรียกว่า Diffusion of Innovation ในการเกิดขึ้นของนวัตกรรมมีผู้ใช้นวัตกรรม 5กลุ่ม การเกิด ขึ้นของนวัตกรรม มีการเกิดขึ้นในรูปที่เป็น S Curve แนวนอนคือ แสดงถึงเวลาที่ผ่านไป แนวตั้ง แสดงถึง ยอดขายหรือปริมาณการใช้

flickr:5627293945

++++ ผู้ใช้นวัตกรรมทั้ง 5กลุ่ม มีใครบ้าง

1.Innovator

คนกลุ่มแรกเวลามีนวัตกรรมใดเกิดขึ้น คนกลุ่มแรที่มีการตอบสนองรับนวัตกรรมนั้นมาใช้ เรียกว่าผู้บุกเบิก คนกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่ เป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างนวัตกรรมโดยตรง คนกลุมนี้มีปริมาณทั้งหมด 2.5%ของผู้ใช้นวัตกรรมของทั้งหมด มีส่วนน้อยมากหลังจากการใช้

2.Early Adropter

เมื่อเวลาผ่านไป มีคนกลุ่มนึงเห็นว่ามีInnovator มีการใช้งานได้ผล คนกลุมนี้เป็นคนกลุ่มแรก ที่ตอบรับการใช้นวัตกรรม ซึ่งคนกลุ่มนี้มีประมาณ13% ของคนที่ใช้นวัตกรรมทั้งหมด Early adropterโดยส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างสูง และชอบของใหม่ๆตลอดเวลา ช่วงนี้นวัตกรรมค่อนข้างราคาสูง คนกลุ่มนี้ค่อนข้างมีการศึกษาสูง ฐานะทางสังคมที่สูง หรือเป็นผู้นำทางสังคม เช่นนักการเมือง ดารา

3.Early majorit

y มีทั้งหมด34% ของผู้ใช้นวัตกรรมทั้งหมด กลุ่มนีคือ วัยรุ่น นักศึกษา คนกลุ่มนี้มีลักษณะคล้อยตาม ค่อนข้างที่จะชอบความเสี่ยง ง่ายที่จะตอบรับนวัตกรรม ยอดขายสูงสุดจะเกิดในยุคearly majority

4.Late majority

มี34%ของผู้ใช้นวัตกรรมทั้งหมด คนกลุ่มนี้ค่อนข้างระแวงที่จะใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้นๆ ต้องมั่นใจว่าดีจริงคุ้มจริง ไม่ชอบใช้ของใหม่ชอบใช้ของล้าสมัย ชอบของตกรุ่น ต้องมั่นใจว่าearly majorityได้ลองใช้สินค้านั้นแล้ว

5.Laggards

มี16%ของผู้ใช้นวัตกรรมทั้งหมด เป็นพวกไม่ยอมใช้ต่อต้านนวัตกรรม จะใช้ก็ต่อเมื่อนวัตกรรมนั้นๆจำป็นต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงาน หรือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น คุณปู่ คุณย่า

นวัตกรรมจะกลายเป็น pattern เดียวกันจะเป็นรูปตัวS curve ตัวSที่ยาวแสดงถึงใช้เวลานานในการตอบรับเช่นโทรทัศน์ใช้เวลาในการตอบรับเกือบร้อยปีนวัตกรรมที่ตอบรับเร็ว S curveจะแคบ
นวัตกรรมที่ออกมาทุกนวัตกรรมไม่ได้ไปครบทุกวงรอบ บางนวัตกรรมหยุดที่Innovater มีคนกลุ่มนึงที่ทำให้นวัตกรรมครบวงรอบ คนกลุ่มนี้คือ Early adropter จะมีจุดนึงที่เรียกว่าpoint of no returnจุดนี้อยู่ตรงที่นวัตกรรมใดก็ตามที่สามารถconvince early adropter ให้ใช้ได้จะแพร่กระจายไปในสังคมโดยอัตโนมัติเป็นอีกอันที่ในด้านธุรกิจมีนัย เราต้องสามารถidentifyคนแต่ละกลุ่มได้ ในส่วนของearly adropter เราต้องสามารถสร้างการใช้ในคนกลุ่มนี้ จะเห็นได้ว่า หลายบริษัทมีการใช้ดารา นักร้อง นักการเมือง เพราะเค้าต้องสร้างฐานEarly adropter ทฤษฎีนี้คือDiffusion of Innovation
ความเร็วของ นวัตกรรมแต่ละนวัตกรรมไม่เท่ากัน

นอกจากนี้มีปัจจัย5ปัจจัย ที่กำหนดโครงสร้างความรวดเร็วในการตอบรับ

1.นวัตกรรมใดถ้าสามารถ สร้างให้ผู้ใช้เห็นถึงประโยชน์ ขึ้นมาได้ อันนี้จะเข้าไปเร่งความเร็ว ในการตอบรับ
2.ต้องเข้ากับสังคนวัฒนธรรม ณเวลานั้น
3.ต้องมีความง่ายต่อการใช้งาน
4.ถ้านวัตกรรมใดก็แล้วแต่มีการอนุญาตให้คนทดลองใช้ก่อนซื้อ ก็มีส่วนในการเร่งในการตอบรับ
5.การใช้นวัตกรรมต้องเห็นผลในการตอบรับ
5ปัจจัยนี้มีผลในการเร่งความเร็ว40%-50%

Disruptive Innovation เป็น Innovation มีดีกรีของการเปลี่ยนแปลง มากกว่า Innovationโดยทั่วๆไปเป็น Innovation เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม เปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตเลยก็ว่าได้ เช่น Internet กรณีของ Mobile phone ในเรื่องของsocial media ในเรื่องของmedia innovation ในด้านของ disruptive Innovation เวลาที่มีInnovation อีก Innovation นึงเกิดขึ้น จะมีบริษัทที่ต้องล้มหายตายจากไป หรือไม่ก็เปลี่ยนแปลงพร้อมกับมีบริษัทใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลง จะมีบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น Google, E- bay ส่วนบริษัทที่ล้มหายตายจาก เช่นBEC เป็นบริษัทใหญ่มี procuct คือ mainfram เป็น หลังปี80 PC ก็ถูกIntroduceขึ้นมา HP, Microsofe, IBM เปลี่ยนmain focusของตนเองมาเป็น PC เป็นหลัก แต่ BECก็ยังเฉย ยังคงยังคงเล่นอยู่ในตลาดของmainframeเหมือนเดิม ซึ่งปัจจุบัน BECสูญหายไปแล้วเนื่องจากไม่ปรับตัวเองไปตามนวัตกรรม
ความสำเร็จจะต้องมีการจ้องมองการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีนวัตกรรมใดเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของเรา ในการที่จะเป็นผู้นำ ที่จะเอาdisruptive มาใช้ในองค์กรต้องมี4ข้อ
1.เริ่มต้นในช่วงนวัตกรรม ถูก Introduce ควรเป็น first grouper
2.ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ
3.สร้างความชำนาญ เกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆให้เกิดขึ้นในองค์กร
4.อบรมพนักงานในองค์กรให้คอยสอดส่องดูแลนวัตกรรมที่ในอุตสาหกรรมของเรามีนวัตกรรมใดที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง

flickr:5627879268
E Bussiness Inovation

การที่นำ Innovation เข้ามาในองค์กรมี 4 กระบวนการหลักๆ
1.เลือกก่อน ในหลายองค์กร มีการตั้งคะแนนเพื่อคอยสแกนว่ามีนวัตกรรมใด เกิดมาใหม่บ้าง นวัตกรรมใดปรับใช้กับองค์กรได้อย่างไร
2.กระบวนการMatch ที่เกิดขึ้นให้เข้ากับธุรกิจขององค์กร
3.การทำให้เกิดขึ้น
4.ประเมิณประโยชน์ที่เกิดขึ้น

บริษัทที่จะเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรมจะต้องมีความคิดที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ

ซึ่ง สตีฟ จ็อบบอกว่า
1.ต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีก่อนแล้วจากนั้นจึงสร้างกลยุทธ์มาsupportเทคโนโลยี
2.ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่าmarketing ไม่ควรถามลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไรลูกค้าอาจจะไม่รู้ความต้องการของตนเองหรือบางครั้งลูกค้าต้องการสิ่งนึงแต่พอเวลาผ่านไปอาจจะต้องการอีกสิ่งนึงก็ได้
3.การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดบริษัทที่อยู่รอดต้องเปลี่ยนไปตามสภามแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป