Internet In Thailand SWOT & SPELT Analysis
Homework for Scribe Book 3: วิเคราะห์อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ SWOT และ SPELT Analysis นำเสนอข้อมูลพร้อมกับคำอธิบาย

» ** Under Re-Construction !!! อย่าเพิ่งนำหน้านี้ไปใช้นะคะ .. เนื้อหายังไม่สมบูรณ์เนื่องจากความผิดพลาดในการแก้ชื่อ page ทำให้ข้อมูลหายไปทั้งหมด ..ตอนนี้กะลังปรับปรุงใหม่ .. ขออภัยในความไม่สะดวกคร่าาา … «

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

แผนภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

flickr:5738211878

แผนภาพอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (ข้อมูลล่าสุด: กุมภาพันธ์ 2553)

flickr:5738281440

แผนภาพอินเทอร์เน็ตไปต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุด: กุมภาพันธ์ 2553)

ที่มา: http://internet.nectec.or.th/webstats/internetmap.current.iir?Sec=internetmap_current


อินเทอร์เน็ตแบนด์วิธ (Internet Bandwidth)

ข้อมูลอินเทอร์เน็ตแบนด์วิธ คือ ข้อมูลที่ได้มาจากการหาผลรวมจำนวนแบนด์วิธของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย รายต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. แบนด์วิธภายในประเทศ (Domestic Bandwidth) คือ ผลรวมของแบนด์วิธทั้งหมดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกตเวย์ภายในประเทศ (National Internet Exchage:NIX)

2. แบนด์วิธไปต่างประเทศ (International Bandwidth) คือ ผลรวมของแบนด์วิธของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมดที่เชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ เกตเวย์ไปต่างประเทศ (International Internet Gateway:IIG) และจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง

flickr:5737710035

แผนภาพอินเทอร์เน็ตแบนวิธของประเทศไทย

ที่มา: http://internet.nectec.or.th/webstats/bandwidth.iir?Sec=bandwidth


รายชื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Internet Service Provider: ISP)

flickr:5661803094
flickr:5737830591

1. CAT Telecom Public Co., Ltd.
บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
http://www.cat.net.th
http://www.cattelecom.com

flickr:5661803340

2. Internet Thailand Public Company Limited
บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
http://www.inet.co.th


flickr:5661803366

3. World Net & Services Co.,Ltd.
บริษัท แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
http://www.pacific.net.th

flickr:5661236053

4. Jasmine Internet Co, Ltd.
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด
http://www.ji-net.com

flickr:5661236067

5. Anet Co., Ltd.
บริษัท เอเน็ต จำกัด
http://www.anet.net.th

flickr:5661803440

6. Samart InfoNet Co., Ltd.
บริษัท สามารถอินโฟเนต จำกัด
http://www.samarts.com
http://www.samartconnect.com


flickr:5661236107

7. Triple T Global Net
บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
http://www.ttt.co.th


flickr:5661803480

8. KIRZ Company Limited
http://www.kirz.co.th


flickr:5661803638

9. OTARO Company Limited
บริษัท โอทาโร จำกัด
http://www.otaro.co.th


flickr:5661803698

10. Internet Service Provider Co., Ltd. (ISSP)
บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด
http://www.isp-thailand.com




flickr:5661236321

11. PROEN Internet
Proimage Engineering and Communication Co., Ltd.
บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
http://www.proen.co.th


flickr:5661803798

12. Far East Internet Co., Ltd
http://www.fareast.net.th



flickr:5661803834

13. CSLoxinfo
บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)
http://www.csloxinfo.com



flickr:5661803858

14. TRUE Internet
บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด
http://www.trueinternet.co.th



15. Asia InfoNet
บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด
http://www.asianet.co.th

flickr:5661236413

16. KSC
บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด
http://www.ksc.net.th




flickr:5661803896

17. TOTWEB
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
http://www.totweb.net
http://www.tot.co.th


flickr:5661803980

18. ADC
Advanced Datanetwork Communications Co.,Ltd
http://www.adc.co.th



19. CWN
Chomanan WorldNet. Name Inc
บริษัท ชมะนันทน์เวิล์ดเน็ต จำกัด
http://www.cwn.net.th


สรุปการสำรวจสถานการณ์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2553 (Thailand Internet User Profile 2010)



ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดสื่อสาร

ตลาดสื่อสารในภาพรวมมีแนวโน้มและทิศทางการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดสื่อสารในปี 2554 ที่สำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ การขยายโครงข่ายสื่อสารเพื่อรองรับประสิทธิภาพการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความต้องการบริการสื่อสารข้อมูล จากทางฝั่งผู้บริโภค ขณะที่ปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อตลาดสื่อสาร ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความล่าช้าในการออกใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์ระบบ 3G และการจัดสรรคลื่นความถี่ ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดสื่อสารในภาพรวมที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการเติบโตของตลาดในปี 2554 ประกอบด้วย

ปัจจัยบวก

1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2544 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับร้อยละ 3 – 5 ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน กำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้ภาคเอกชนมีการลงทุนปรับปรุงระบบเครือข่ายสื่อสาร ขณะที่ภาคครัวเรือนมีการใช้จ่ายเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของอุปกรณ์สื่อสารไร้สายและบริการอินเทอร์เน็ต

2. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ส่งผลให้เกิดความชัดเจนในแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเข้าถึงการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่มีมาตรการผลักดันที่เป็นรูปธรรม แต่ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ให้บริการ โดยเฉพาะการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ไฟเบอร์ออปติคที่มีทิศทางการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

3. แนวโน้มการปรับลดราคาทั้งในส่วนของตลาดอุปกรณ์สื่อสารและบริการสื่อสารส่งผลให้เกิดการกระตุ้นความต้องการใช้งานในภาพรวมของตลาดสื่อสาร โดยเฉพาะความนิยมในกระแสการใช้งานอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตแบบพกพา (Mobile Internet Devices) เช่น เครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และเครื่องแท็ปเล็ตพีซี (Tablet PC) ที่คาดว่าจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการใช้บริการสื่อสารข้อมูลไร้สาย

4. การเติบโตและการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application) โดยปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบของ Multi Platform ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในการใช้งานแอพพลิคชั่นบนอุปกรณ์ที่มีระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาแอพพลอเคชั่น User Interface เพื่อช่วยให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและใช้งานได้ง่ายขึ้น รวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้งานมากขึ้นทั้งในส่วนของ Business Application และ Entertainment Application

ปัจจัยลบ

1. ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ทำให้โครงการลงทุนภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดสื่อสารยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ให้บริการและนักลงทุนยังคงชะลอการลงทุนและการสั่งซื้ออุปกรณ์
2. ความไม่แน่นอนในเรื่องของกฎเกณฑ์การกำกับดูแลและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับตลาดสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในการลงทุนโครงข่ายและชะลอการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล่าช้าและอุปสรรคในการออกใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์ระบบ 3G ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อตลาดอุปกรณ์สื่อสารและบริการสื่อสาร

แนวโน้มเทคโนโลยีสื่อสาร

ภาพรวมของแนวโน้มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับตลาดสื่อสารในปี 2554 คล้ายคลึงกับปีที่ผ่านมา โดยเน้นเทคโนโลยีสื่อสารที่เพิ่มประสิทธิภาพความเร็วในการรับส่งข้อมูล ตอบสนองความต้องการบริโภคข้อมูล ข่าวสาร และสื่อสังคมออนไลน์ สามารถสรุปเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญได้ดังนี้

• เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ได้แก่ การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ (FTTX) และการใช้เทคโนโลยี PON จะส่งผลต่อการเติบโตของตลาดอุปกรณ์สื่อสารในภาพรวม และอุปกรณ์ในกลุ่มเคเบิล (Cabling Equipment)รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อที่รองรับระบบไฟเบอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

• เทคโนโลยี 3G Off Load เป็นการใช้อุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยี 802.11 N ซึ่งจะช่วยกระตุ้นตลาดทางด้านของอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สาย ได้แก่ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายประเภท Multiple SSID ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในตลาดอุปกรณ์สื่อสารไร้สายให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการใช้งานบริการมัลติมีเดียและการขยายตัวของความต้องการใช้ WLAN ในระดับองค์กร โดยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพของเครือข่ายไร้สายที่มีอยู่เดิมให้รองรับการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็ว (Bandwidth) มากขึ้น ส่งผลให้การใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านเครือข่ายใช้สายขององค์กรทำได้สะดวกมากขึ้น

• Mobile Application ที่รองรับระบบ Android 3.0 และรองรับการใช้บริการ Social Networking จะส่งผลให้ความต้องการของตลาดเครื่องลูกข่ายประเภทสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ใช้ได้บนเทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อทำให้เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่จำเป็นต้องมี Memory ในระดับที่สูงมากนัก แต่สามารถใช้บริการแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านระบบ Cloud โดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา Mobile Application โดยเฉพาะเทคโนโลยี Location Based, เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจดจำเอกลักษณ์ส่วนบุคคล (Auto Identification) เช่น การจดจำใบหน้า (Face Recognition) การจดจำเสียง (Speech Recognition) รวมถึงเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น

ตลาดบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access Service)

ประกอบด้วยการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (International Internet Gateway: IIG) บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งแบบธรรมดา (Narrowband) และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) โดยในปี 2553 ตลาดบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์มีมูลค่า 9,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.4 และคาดว่าจะมีการเติบโตเพื่มขึ้นอีกเป็นร้อยละ 15.4 หรือคิดเป็นมูลค่า 11,096 ล้านบาทในปี 2554 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการลงทุนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยเฉพาะโครงข่ายไฟเบอร์ออปติคและเคเบิลใต้น้ำเพิ่มเติมในปี 2554 ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่มีการเปิดเสรีบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ส่งผลให้ภาคเอกชนสามารถลงทุนและแข่งขันในเรื่องของคุณภาพการให้บริการ ซึ่งกระตุ้นให้ต้นทุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศลดต่ำลงและกลายเป็นปัจจัยบวกสำหรับตลาดบริการอินเทอร์เน็ต

โดยตลาดบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับปี 2553 มีมูลค่า 23,976 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาในอัตราการเติบโตร้อยละ 26.4 และจะเพิ่มขึ้นอีกในอัตราที่ใกล้เคียงกันเป็นร้อยละ 27 หรือคิดเป็นมูลค่า 30,450 ล้านบาทในปี 2554 (แผนภาพที่ 4-10)

flickr:5737986265

จากปัจจัยลบในเรื่องของการแข่งขันทางด้านราคาที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในธุรกืจการให้บริการอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายได้เปรียบผู้ให้บริการรายย่อยที่ต้องเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการกับกลุ่มลูกค้า ส่งผลให้อัตราการเติบโตของตลาดในปี 2554 มีทิศทางการเติบโตที่ค่อนข้างคงที่ไม่สูงมากนัก

อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของตลาดในภาพรวมยังจัดว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สูงมากเมื่อเทียบกับบริการสื่อสารประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยบวกจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทางฝั่งผู้บริโภค อันเป็นผลจากการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลของผู้ให้บริการในอัตราค่าบริการที่ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก ประกอบกับการที่ภาคธุรกิจต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและหันมาใช้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ การประชุมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ส่งผลให้การใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้น



การวิเคราะห์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

องค์กรที่สามารถอยู่ได้ในทุกวันนี้ต้องปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยปัจจัยหลักคือมนุษย์ ที่ต้องมีการจัดการโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมจากภายนอกในด้านทั่วไป และด้านทางธุรกิจ

flickr:5737710099

สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไปมีบางอย่างสามารถควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราต้องทำคือทำอย่างไรที่จะสามารถตรวจสอบ monitor ในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

SWOT Analysis

flickr:5661235749

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด

W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น

O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

SWOT ของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

SPELT Analysis

หรือ การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม เป็นการพิจารณาปัจจัยภายนอก 5 ตัวที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ดังนี้

flickr:5738144381

1. Social and Culture Factors ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น ปัจจัยทางด้าน Social and Culture Factors ของอินเทอร์เน็ตประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน ได้แก่

หรือ การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม เป็นการพิจารณาปัจจัยภายนอก 5 ตัวที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ดังนี้

flickr:5738144381

1. Social and Culture Factors ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น ปัจจัยทางด้าน Social and Culture Factors ของอินเทอร์เน็ตประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน ได้แก่

ปัจจัยด้านบวก

- ลักษณะของสังคมไทยปัจจุบัน มีค่านิยมที่แตกต่างไปจากอดีตในหลายๆ เรื่อง เช่น การนิยมใช้อินเทอร์เน็ต ปัจจุบันเป็นค่านิยมในหมู่วัยรุ่น ที่ต้องมี ต้องใช้ ไม่เหมือนในอดีต รวมไปถึงอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ (Mobile Devices) ที่เข้ามามีอิทธิพลในหมู่คนรุ่นใหม่ค่อนข้างมาก อุปกรณ์และความทันสมัยเหล่านี้ หากใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้ไปในทางที่ดี ที่สร้างสรรค์ จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ผู้ใช้สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว

- การอพยพย้านถิ่นของคนรุ่นใหม่ในสังคมชนบท เข้ามาสู่สังคมเมืองมากขึ้น เป็นเหตุให้โอกาสที่จะมีความรู้และใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในชีวิตของคนเหล่านี้มากขึ้น อาจเนื่องมาจากความจำเป็นที่ต้องใช้งานตามลักษณะการทำงาน ทำให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตอาจจะสามารถแพร่ขยายไปยังสังคมถิ่นฐานเดิมของคนเหล่านี้ในอนาคตก็เป็นได้

ปัจจัยด้านลบ

- ปัจจัยแรก ตรงข้ามกับปัจจัยด้านบวก คือ ค่านิยมการใช้อินเทอร์เน็ต และ mobile devices สิ่งเหล่านี้ถ้าใช้มากเกินไป หรือใช้ไปในทางที่ผิด ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตัวบุคคลและคุณภาพสังคมต่อไปได้

- การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ง่าย และทั่วถึงทั่วโลก ย่อมทำให้วัฒนธรรมจากต่างชาติบางอย่างเข้ามา กลืนวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามตามแบบไทยไป กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกหล่อหลอมโดยวิธีแบบนี้ได้ง่าย และอาจส่งผลรายต่อสังคม ทำให้สังคมเสื่อมคุณภาพในอนาคต

- ในส่วนโครงสร้างของประชากรที่แตกต่างกันในสังคมแต่ละพื้นที่ ย่อมมีผลต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่เห็นได้ชัดได้แก่ สังคมเมือง ที่ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ การศึกษาสูง ก็จะมีโอกาสในการใช้งานและเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่าคนในสังคมชนบท ซึ่งไม่มีโอกาสในเรื่องนี้ ทั้งยังอาจมีการศึกษาต่ำและไม่มีความรู้ที่จะขวนขวายสิ่งเหล่านี้ ไม่มีความต้องการพัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ ต้องการเพียงแต่ปลายทางที่อยากจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ความรู้และการศึกษาที่แตกต่างนี้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จนอาจเกิดเป็นปัญหาระหว่างชนชั้นบานปลายเช่นที่มีการเรียกร้องทางการเมืองในทุกวันนี้

2. Political Factors ปัจจัยทางการเมือง รัฐบาล ตัวอย่างเช่น
– เสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาล ระดับความเชื่อมั่นของประชาชน
– นโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การทหาร
– ความเข้มแข็ง และอำนาจการต่อรองขององค์กรอิสระ ชุมชน ฝ่ายค้าน
– ประสิทธิภาพการบริหารราชการ
– ความเป็นธรรมาภิบาล (Good Governance)

3. Economics Factors ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น
- GDP ‐ อัตราเงินเฟ้อ - อัตราการว่างงาน
- อัตราดอกเบี้ย - อัตราแลกเปลี่ยน - ดุลบัญชีเดินสะพัด
- ดุลการค้า - ดัชนีค่าครองชีพ - ราคาน้ำมันโลก
- ดัชนีการลงทุน - อัตราการใช้กำลังการผลิต – อัตราการออม
- หนี้ครัวเรือน -ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนักลงทุน
- อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ
- ภัยคุกคาม การก่อการร้าย

4. Legal Factors ปัจจัยทางกฎหมาย ตัวอย่างเช่น
- กฎระเบียบและมาตรการผ่อนคลายของรัฐ
- ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ Free Trade Area, WTO, GATT
- มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานเด็ก สตรี
- นโยบายข้อบังคับด้านสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา
- กฎหมายแรงงาน กฎระเบียบอุตสาหกรรม ระเบียบศุลกากร กฎหมายด้านภาษีอากร ธุรกิจการค้า

5. Technology Factors ปัจจัยทางเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น
- Robot Technology - NANO Technology
- Transportation Technology ‐ Supply Chain & Logistics
- Information Technology ‐ Network, Internet
- Communication Technology ‐ Management Technology
- Industry / Machine Technology

สรุป การใช้ SPELT นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับธุรกิจ เช่น ธุรกิจกลางคืน อาจไม่มีปัจจัยเกี่ยวข้องทางด้านการเมืองเลย เป็นต้น


References:

http://www.arnut.com/isp.php#top
http://www.nstda.or.th/prs/index.php/ict2010
http://www.nstda.or.th/prs/index.php/public-article
http://kapangl2elax.blog.com/2010/08/15/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/
http://www.thaigoodview.com/node/18401