"ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์" (Electronic Banking : หรือ E-Banking) เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่พยายามผลักดันให้ประชาชนใช้บริการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดการใช้เงินสดภายใต้หลักการการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมั่นคงปลอดภัยและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม ปัจจุบันทุกธนาคารจึงมุ่งพัฒนาระบบและโปรดักต์สนองความต้องการให้ลูกค้าเลือกใช้หลายรูปแบบ ทั้งธนาคารผ่านมือถือ หรือเอทีเอ็ม บัตรเติมเงิน, บัตรเครดิต ฯลฯ เหล่านี้คืออีกรูปแบบของการทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทุกที่ทุกเวลาและทันทีทันใดนั้น”
ธนาคารกรุงไทย : KTB-Net Bank รองรับสมาร์ทโฟน
ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการ บมจ.ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ธนาคารเปิดตัวบริการใหม่ "KTB-Net Bank" โดยปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการทุกเดือนเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือนมี 6 แสนรายจากฐาน 1 ล้านราย ขณะที่ธนาคารมีลูกค้าทั้งหมด 16 ล้านบัญชี โดยลูกค้าประมาณ 87% ใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตและเอทีเอ็ม ที่เหลือกว่า 10% ยังใช้ช่องทางสาขา
ในแง่ของการบริการต้องควบคู่กัน ซึ่งกรณีลูกค้าสมัครผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถใช้บริการผ่านมือถือได้ทั้งคู่ โดยตอนนี้ยังมีบางกลุ่มนิยมใช้บริการผ่านมือถือแต่ระยะยาวเชื่อว่าจะเปลี่ยนไปเป็นบริการสมาร์ทโฟน ดังนั้นจึงต้องพัฒนาให้สามารถรองรับบริการอนาคตได้ แม้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีรายได้ค่าธรรมเนียมมากนักแต่เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่มีอัตราการเติบโตธุรกรรมจำนวนมากต่อปี
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : "กรุงศรี-โมบายซิม" เพิ่มลูกค้าใหม่ 1.5แสนรายต่อยอดธนาคารบนมือถือ
นายฐากร ปิยพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า อี-แบงกิ้งเติบโตต่อเนื่องเฉพาะตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุยอดผู้ใช้บริการปี 2552 มีจำนวน 3.2 ล้านคนปีถัดมามีจำนวนเป็น 4.9 ล้านคนจากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเมืองไทย 20 ล้านคน อัตราเติบโต 150% ต่อปีในแง่ของการทำตลาดออนไลน์นั้นอีก 5 ปีข้างหน้าลูกค้าของธนาคารจะสามารถขอสินเชื่อได้ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและเอสเอ็มอีจากปัจจุบันที่ให้บริการแล้วคือ สินเชื่อบ้าน ,บัตรเครดิต, สินเชื่อบุคคลโดยปริมาณธุรกรรมในอีก 2 ปี (ปี 2555-56) จะเติบโต 10% จากสิ้นปีนี้จะเติบโตได้ 3-5%
ด้านบริการอี-แบงกิ้งนั้นฐานลูกค้ามีจำนวน 4 แสนรายที่ผ่านมาเติบโต 20% ต่อปี โดยธนาคารวางตำแหน่งเป็นธนาคารจัดการการใช้เงินส่วนตัวด้วยบริการ "กรุงศรีออนไลน์" ให้ลูกค้าเปิดบัญชีออนไลน์และมีทางเลือกมากขึ้นรวมถึงเรียกดูข้อมูลได้ทั้งกองทุน สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเอสเอ็มอี บัตรเครดิต และหุ้น ซึ่งเปิดตัวบริการ "กรุงศรี-โมบายซิม" ช่วยทำธุรกรรมลูกค้าที่ใช้ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ ที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟนต่อยอดธนาคารบนมือถือที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว 25,000 ราย ซึ่งบริการดังกล่าวจะใช้จริงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิ.ย. คาดว่าจะมีลูกค้าใหม่เข้ามา 1.5 แสนราย และหลังจากนั้นยังมีกระบวนการพัฒนาสำหรับบริการซูเปอร์ไฮเทค
"ผล Survey ลูกค้าจะใช้บริการมือถือนั้นมี 3 ธุรกรรมหลัก คือ เช็กยอด โอนเงินและชำระค่าบริการต่างๆ ซึ่งอนาคตอาจเช็กสเตตเมนต์หรือบัตรเครดิตด้วย" นายฐากรกล่าว
ธนาคารไทยพาณิชย์ : เน้นรักษาอัตราโตที่ 40-50% ต่อปี
นางสาวอรุณพร ลิ่มสกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยพาณิชย์ที่ระบุว่าปีนี้ธนาคารเน้นรักษาอัตราการเติบโตไว้ที่ 40-50%ต่อปีเช่นที่ผ่านมาโดยจะเพิ่มประเภทบริการหลากหลายมากขึ้นทุกโปรดักต์ของธนาคารจากปัจจุบันมีบริการ 4 ประเภท เช็กยอดบัตรเครดิต โอนเงิน จ่ายค่าสินค้า-บริการและซื้อขายกองทุนอีกทั้งยังเพิ่มผู้ใช้รายใหม่ด้วยจากฐานลูกค้าที่มีอยู่ 1 ล้านราย
ธนาคารทหารไทย : ตั้งเป้า 5 ปีเพิ่มความถี่ใช้บริการ 1.5 แสนราย
นางกาญจนา โรจวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานส่งเสริมการตลาด ลูกค้ารายย่อย ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบริการอี-แบงกิ้งของธนาคารมีฐานลูกค้า 60,000 ราย สามารถใช้บริการผ่านมือถือได้เลย จึงมีการเติบโตทั้งฐานลูกค้าและปริมาณธุรกรรมส่วนใหญ่ 70%เป็นธุรกรรมถามยอด โอนเงิน 15% ชำระค่าสินค้า-บริการ 5% ซึ่งในระยะ 3-5ปีข้างหน้าธนาคารพยายามจะลดธุรกรรมที่สาขาเหลือ 9-10% ปัจจุบันอยู่ที่ 20% โดยในอีก 5 ปี อยากให้ลูกค้าเพิ่มความถี่ในการใช้บริการจำนวน 1.5 แสนคน จากปัจจุบันมีอยู่ 60,000 ราย
บทวิเคราะห์
"ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์" (Electronic Banking : หรือ E-Banking) เป็นทั้งรูปแบบ E-Commerce คือ การใช้อินเตอร์เนตและเวปไซต์เพื่อทำธุรกรรม และ เป็นแบบ M-Commerce คือ E-commerce ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น Smartphone, iPad, Tablet เป็นต้น
Type of E-Commerce
- Business-to-Consumer: บุคคลสามารถทำธุรกรรมได้โดยตรงต่อธนาคารผ่านบริการอินเตอร์เนต
- Business-to-Business: นิติบุคคลสามารถทำธุรกรรมได้โดยตรงต่อธนาคารผ่านบริการอินเตอร์เนต
- Government-to-Business: หน่วยงานราชการสามารถทำธุรกรรมได้โดยตรงต่อธนาคารผ่านบริการอินเตอร์เนต
E-Commerce Business Strategies
Click and Mortar: ธนาคารยังคงให้บริการผ่านสาขาและเพิ่มบริการผ่านอินเตอร์เนต โดยลูกค้าสามารถใช้บริการผ่านได้ทั้ง 2 ระบบ
Typical Revenue Models for E-Commerce
Transaction Fee ธนาคารได้รายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการผ่านอินเตอร์เนต
Internet Business Models
Virtual Storefront: ธนาคารขายสินค้าและบริการโดยตรงกับลูกค้า
Stages of B2C E-Commerce
E-Transaction: ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้บนอินเตอร์เนตไม่ใช่การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการต่าง ๆ เท่านั้น เช่น เช็กยอด, โอนเงิน, ชำระค่าบริการต่างๆ, สินเชื่อบ้าน ,บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล เป็นต้น
Advantage
สำหรับลูกค้า
- ประหยัดเวลาเดินทางไปสาขาเพื่อทำธุรกรรม
- ประหยัดเวลาต่อคิวเพื่อทำธุรกรรม
- ไม่ต้องฟังพนักงานขายบริการต่าง ๆ ที่ตนไม่ต้องการ เช่น ประกันชีวิต สินเชื่อ เป็นต้น
สำหรับธนาคาร
- ประหยัดค่าใช้ด้านสถานที่ เช่น ค่าเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ
- ประหยัดเงินเดือนพนักงาน โดยในอนาคาตธนาคารจะให้ลูกค้าบริการตนเองผ่านอินเตอร์เนตและตู้บริการ พนักงานจะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ตู้บริการ และให้คำปรึกษาด้านสินค้าต่าง ๆ ของธนาคาร
- ธนาคารจะได้รับรายได้ตลอดเวลา เพราะไม่มีการปิดรับบริการเหมือนอย่างสาขาซึ่งสามารถทำได้ทุกเวลาและทั่วโลก
Disadvantage
- ยังมีธุรกรรมบางชนิดที่ต้องเดินทางไปสาขาเพื่อดำเนินธุรกรรม เช่น เปิดบัญชีธนาคาร, ถอนเงินสด, ฝากเงินสดเข้าบัญชี เป็นต้น
- เสียโอกาสการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆของธนาคารต่อลูกค้าโดยตรง
- ลูกค้ายังขาดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย เพราะกลัวว่าโอนแล้วธนาคารจะไม่ได้รับเงินหรือการทำธุกรรมจะไม่ผ่าน หรือเรื่อง Phishing เป็นต้น