ซีอีโอ ‘ เอเซอร์’ ไขก้อก สังเวย ‘ไอแพด เอฟเฟ็กต์’ กินตลาด

การลาออกของ “ เจียนฟรังโกเลนซี่” ซีอีโอบริษัทเอเซอร์คอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวัน เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2011 สร้างความสนใจให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องในแวดวงไอทีทั่วโลก เพราะเป็นการส่งสัญญาณต่อตลาดไอทีว่า การเข้าสู่สนามของ “ แท็บเลต ” ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามอีกต่อไป

โดยสำนักข่าวต่างประเทศเปิดเผยแถลงการณ์จากเอเซอร์ระบุถึงสาเหตุการลาออกของซีอีโอครั้งนี้ว่า เพราะเลนซี่มีความเห็นแตกต่างจากมุมมองของบอร์ดบริษัทและไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกัลสมาชิกบอร์ดคนอื่นๆได้ในหลายประเด็น โดยระหว่างนี้จะมีประธานบริษัท “ เจที หวัง” ทำหน้าที่รักษาการซีอีโอแทนและจะสรรหาซีอีโอคนใหม่ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้

การ์ดเนอร์คาดว่าปี 2011 จะมียอดขายแท็บเลตกว่า 69.5 ล้านเครื่องทั่วโลกราคาเฉลี่ย 423 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ซึ่งมียอดขาย 17.6 ล้านเครื่อง แน่นอนว่าเจ้าตลาด คือ “ ไอแพด” ของแอปเปิล

“พวกเรามีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องความสำคัญของการขาดการเติบโตการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้า รวมถึงการส่งเสริมโพซิชันนิ่งของแบรน์ การจัดสรรทรัพยากร และการประยุกต์กระบวนการทำงานต่างๆขณะเดียวกันเอเซอร์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางรายได้ทั้งปีครั้งใหม่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เรียบร้อยแล้ว” เจที หวัง กล่าวในแถลงการณ์

พร้อมกล่าวต่อว่า พวกเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ เนื่องจากภาพรวมของอุตสาหกรรมพีซีมี การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะแท็บเลตที่อยู่ในช่วงขาขึ้นและระบบปฎิบัติการบนคอมพิวเตอร์มีความหลากหลายมากขึ้น โดยพีซียังคงเป็นธุรกิจหลักของเอเซอร์ นอกเหนือจากนี้เราจะก้าวเข้าไปสู่ตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ใหม่ๆ ซึ่งเอเซอร์จะลงทุนอย่างระมัดระวังและหวังจะกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นแถวหน้าของธุรกิจนี้

“เอเซอร์มีเป้าหมายจะเป็นผู้นำในตลาดอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ครอบคลุมตั้งแต่โน๊คบุ๊ก เน็ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และแท็บเลต รวมทั้งเอเซอร์จะพยามอย่างมากในการขยายตลาดแท็บเลตและสมาร์ทโฟน ซึ่งกำลังมีการเติบโตสูงและปีนี้เอเซอร์ตั้งเป้าจะมียอดการส่งแท็บเลตทั่วโลก 5-7 ล้านเครื่อง ”

ด้าน “สแตน ฉี ” ผู้ก่อตั้งเอเซอร์และหนึ่งในคณะกรรมการบริษัท กล่าวยอมรับว่า “ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เช่น ไอแพด ส่งผลการะทบกับอุตสาหกรรมพีซีมากกว่าที่เอเซอร์คาดการณ์ไว้แต่ทีแรก และผมหวังว่าเราจะสามารถเผชิญกับความท้าทายด้วยกลยุทธ์ใหม่และผลักดันตลาดโดยการปรับองค์กรครั้งใหม่ได้อีกครั้ง”

นักวิเคราะห็หลายรายมองว่า การก้าวลงจากตำแหน่งของซีอีโอเอเซอร์ยอมส่งผลกระทบกับการดำเนินการของเอเซอร์ในระยะอันสั้น เนื่องจากเลนซี่ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้เอเซอร์ขึ้นมาผงาดในธุรกิจพีซีช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายร้านค้าตัวแทนจำหน่ายต่างๆทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงผู้นำของเอเซอร์ครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความต้องการโน๊ตบุ๊กที่กำลังชะลอตัวทั่วโลก รวมถึงความนิยมของไอแพดที่เริ่มกัดกร่อนตลาดโน๊ตบุ๊กและเน็ตบุ๊ก ซึ่งเอเซอร์มีความแข็งแก่งในตลาดนี้เป็นอย่างมาก

เมื่อเร็วๆนี้เอเซอร์เปิดตัวแท็บเลตสู่ตลาด 4 รุ่น พร้อมสร้างความสงสัยให้กับคนที่เกี่ยวข้องว่า เอเซอร์จะพิชิตยอดขาย 5-7 ล้านเครื่อง ตามที่หวังไว้ได้หรือไม่ เพราะต้องเผชิญการแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่างไอแพดที่ปล่อยไอแพด 2 ออกมาในราคาที่ดึงดูดใจผู้บริโภคอย่างมาก แต่ประธานเอเซอร์กลับมั่นใจว่าปัจจุบันคอมซูเมอร์ไม่ได้สนใจซื้อสินค้าโดยดูจากราคาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่าที่ไอแพดมี ยกตัวอย่าง แท็บเลตบางรุ่นสามารถทำงานได้มากกว่าพีซี และมาพร้อมความสามารถด้านการจัดเก็บข้อมูลเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้ใช้งานมากขึ้น

สำหรับเอเซอร์ ปัจจุบันครองตำแหน่งผู้ผลิตพีซีรายใหญ่เบอร์ 2 ของโลกตามหลังฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี)โดยก่อนหน้าเลนซี่ประกาศลาออกนั้นเอเซอร์คาดการณ์รายได้ในไตรมาสแรกอาจลดลงประมาณ 10 % เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการพีซีโน้ตบุ๊กในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมิรกาอ่อนตัวลง แตกต่างจากเดิมซึ่งเคยคาดการณ์การเติบโตที่ 3 %

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแม่ทัพใหม่ของยักษ์คอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวันอาจดูไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอุตสาหกรรมไอทีมีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงสูงและมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่อีกนัยหนึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ว่าแท็บเลตมีผลกระทบกับกำลังซื้อพีซีจริงๆ

ขณะที่ล่าสุด “การ์ดเนอร์” ได้ปรับการคาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอทีทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และบริการไอทีทั่วโลกปีนี้ใหม่เป็น 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโต 5.6 % จากที่เคยคาดการณ์การเติบโตอยู่ที่ 5.1 % ปัจจุบันหลักมาจากยอดขายของไอแพดและแท็บเลตแบรนด์ต่างๆที่ทำให้การใช้จ่ายไอที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยการ์ดเนอร์คาดว่าปี 2011 จะมียอดขายแท็บเลตกว่า 69.5 ล้านเครื่องทั่วโลก ราคาเฉลี่ย 423 ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2010 ซึ่งมียอดขาย 17.6 ล้านเครื่อง แน่นอนว่าเจ้าตลาดคือ “ไอแพด” ของแอปเปิล โดยราคาเฉลี่ยสินค้าอยู่ที่ 543 ดอลลาร์สหรัฐ และการ์ดเนอร์ยังตั้งขอสังเกตว่า เนื่องจากยอดขายแท็บเลตที่สูงขึ้น คาดว่าราคาเฉลี่ยของแท็บเลตในปี 2015 จะมีราคาถูกลงกว่าครึ่งหนึ่งของราคาในปัจจุบัน

และหากคิดเป็นเม็ดเงินการใช้จ่ายพบว่าทั่วโลกมีการจ่ายเงินเพื่อซื้อแท็บเลตรวมกันมากกว่า 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 52 % จนถึงปี 2015

อย่างไรก็ดี คำถามที่การ์ดเนอร์และหลายคนยังจับตาอยู่ใกล้ชิดคือสานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและเหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายไอทีให้ไปถึงฝันที่ตั้งไว้หรือไม่ คงต้องจับตาดู

flickr:5636570805

วิเคราะห์ข่าว

จุดแข็ง
1. Acer มีสินค้าที่เป็น Tablet มากมายหลายรุ่นจึงสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
2. สินค้ามีราคาประมาณ 9,000- 21,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
3. Acer Iconia Tab ซึ่งจะเข้ามาทำตลาดเมืองไทยเป็นรุ่นแรกนั้นจะเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องปรับตัวในการใช้มาก
4. คุณสมบัติของเครื่อง Acer Tablet Iconia Tab มีดังนี้
- AMD C-50 Processor ที่ความเร็ว 1 GHZ
- RAM 2 GB (ใช้จริงได้ที่ 1.6 GHZ)
- SSD 32 GB
- กล้องหน้า/หลัง
- ช่อง HDMI/ช่องหูฟัง 3.5 mm
- มีคีย์บอร์ดแบบถอดได้
- จอ 10.1 นิ้ว รองรับมัลติทัช
- Wifi
- Bluetooth
- GPS
- USB Port
ซึ่งจากคุณสมบัติข้างต้นจะเห็นว่าค่อนข้างครบถ้วนต่อการใช้งาน
5. Acer Tablet ในแบบแอนดรอย์ภายหลังขนาดหน้าหลังของหน้าจอตั้งแต่ 7-10 นิ้ว
6. Tablet บางรุ่นสามารถทำงานได้มากกว่าพีซีและพร้อมความสามารถด้านการจัดเก็บข้อมูล

flickr:5634226402

จุดอ่อน
1. วางจำหน่ายช้ากว่ายี่ห้ออื่นๆ
2. แบรนด์ Acer นั้นอาจยังไม่คุ้นหูลูกค้าในการผลิต Tablet

โอกาส
1. Acer เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านคอมพิวเตอร์จึงอาจไม่ต้องทำการตลาดมากนัก
2. การที่เป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่เบอร์ 2 ของโลก เมื่อต้องการผลิต Tablet อาจไม่ต้องมีการวิจัย & พัฒนาผลิตภัณฑ์มากนัก

อุปสรรค
1. ลูกค้าส่วนใหญ่ในตอนนี้ให้ความสนใจในไอแพค 2 เป็นอย่างมากซึ่งอาจทำให้ความสนใจใน Acer Tablet นั้นไม่มากเท่าที่ควร
2. มีผู้ผลิต Tablet เป็นจำนวนมาก
3. ตลาดอุตสาหกรรมไอทีมีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงสูง จึงต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลอดเวลา

ที่มา
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 7-10 เมษายน
www.techxcite.com
www.mrpalm.com