3d Without Glasses 3d Tv 5320221050

3D Without Glasses

กระแสทีวี 3 มิติ นั้นถือว่า “มาแรง” มากในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีภาพแบบ 3D หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Stereoscopic 3D เริ่มต้นมาจากการใช้ชมภาพยนตร์แบบสมจริงในโรงภาพยนตร์ ซึ่งต้องใส่แว่นสามมิติในการรับชมด้วย จึงจะสามารถชมภาพแบบ 3D ได้ ซึ่งต่อมามีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับทีวีบ้านด้วย และได้พัฒนาภาพ 3D แบบที่ไม่ต้องใส่แว่นออกมา ไม่ว่าจะเป็นของทางซัมซุง และไมโครซอฟต์ แถมทางนินเทนโด ก็ยังพัฒนาเครื่องเกมพกพา 3DS ที่เป็นภาพสามมิติแบบไม่ต้องใส่แว่นเช่นกันด้วย

ทีวี 3 มิติ คือ
อธิบายง่ายๆให้เห็นภาพเลย 3D หรือ 3 Dimension คือภาพที่เราสามารถเห็นมิติ “ตื้น ลึก หนา บาง ลอย” อย่างเห็นได้ชัดเจนนั่นเอง ถ้าเปรียบเทียบกับภาพ 2 มิติจากทีวีธรรมดาซึ่งเป็นภาพ “แบนๆติดจอ” แล้ว ความสมจริงของภาพ 3 มิตินั้นจะมีมากกว่า ซึ่งประโยชน์ที่ได้ก็คือ “ความสมจริงของภาพ” และ “อรรถรส” ในการรับชมที่มากกว่านั่นเอง ซึ่งหลายๆคนยอมรับว่ามันเหมือนเรากำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ผลิตทีวีจึงสนใจหันมาผลิต “ทีวี 3 มิติ” ซึ่งก็คือทีวีที่มีความสามารถในการแสดงภาพที่มีมิติ “ตื้น ลึก ลอย หนา บาง” ได้นั่นเอง เหนือกว่าทีวีธรรมดาทั่วไปที่สามารถแสดงได้แค่ภาพ 2 มิติแบนๆ

bold textไม่น่าเชื่อว่าตัวการสำคัญที่คอยทำให้ความสนุกในการชมภาพยนตร์ 3D ลดลงนั้นอยู่แค่ปลายจมูกคุณเท่านั้นเอง ซึ่งมันก็คือแว่นสามมิติที่ทั้งใหญ่เทอะทะและน่ารำคาญเวลาสวมใส่นั่นเองแต่ อย่างไรก็ดีตอนนี้ก็ได้มีพัฒนาและผลิตโทรทัศน์เครื่องแรกที่สามารถแสดงภาพ 3D ได้อย่างเต็มรูปแบบโดยไม่ต้องอาศัยแว่นตาเวลารับชมออกมาแล้ว

หลักการพื้นฐานของการแสดงภาพ3D
หลักการพื้นฐานของการแสดงภาพ 3D ที่คุณจะพบได้จากโทรทัศน์แทบทุกเครื่องในปัจจุบันก็คือ การแสดงภาพที่มีมุมมองต่างกันจำนวน 2 ภาพสำหรับการมองเห็นของตาแต่ละข้าง จากนั้นภาพ 2 ภาพที่มีความเหลื่อมกันนี้จะถูกแปลความหมายโดยสมองจนมองเห็นเป็นภาพภาพเดียว ที่มีมิติในทางลึก แต่เนื่องจากภาพสำหรับตาข้างซ้ายและข้างขวานั้นจะถูกแสดงสลับกับไปมาอย่าง รวดเร็วมาก ดังนั้นเพื่อให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพที่เหมาะสมและถูกต้องสำหรับตาข้างนั้น จริงๆ จึงจำเป็นต้องมีแว่นตาคอยทำหน้าที่แยกภาพสำหรับตาแต่ละข้างด้วย

1.แยกภาพระดับพิกเซลด้วยเลนส์ขนาดเล็กสำหรับการแสดงภาพ 3D
จากหลักการพื้นฐานข้างต้นนี้ โทรทัศน์ 3D ที่เป็นระบบ Auto Stereoscopic จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยมีส่วนประกอบของโครงสร้างที่สามารถแสดงภาพสำหรับตาข้างซ้ายและข้างขวาได้ ในระดับพิกเซลเลย กล่าวคือแต่ละจุดภาพของมันจะมีเลนส์ Lenticular คอยทำหน้าที่แยกภาพสำหรับตาแต่ละข้างออกจากกันและเลนส์ดังกล่าวนี้ก็เปรียบ ได้กับการทำหน้าที่ของแว่นตาที่สวมใส่เวลารับชมนั่นเอง

แต่ เนื่องจากเลนส์ Lenticular นี้จะมีการโฟกัสแสงที่เฉพาะมาก ดังนั้น Sweet Spot ที่เกิดขึ้นจึงอยู่ในระยะที่เฉพาะด้วยซึ่งหมายความว่า ผู้ชมจะเห็นภาพ 3D ที่เหมาะสมเฉพาะในมุมมองที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเครื่องเล่นเกม Nintendo 3DS ที่จะเปิดตัวออกสู่ตลาดในปีนี้ ก็เป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพาเครื่องแรกที่ใช้จอภาพที่มีเทคนิคดังกล่าว

2.ขยายมุมมองความละเอียดสูงสำหรับผู้ชมจำนวนมาก
มุมมองของภาพ 3D ที่จำกัดนั้นไม่ใช่ปัญหาเมื่อเป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพาที่มีจอภาพขนาดเล็ก และใช้งานโดยผู้ใช้คนเดียว แต่ถ้าเป็นโทรทัศน์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่แล้วมันแทบจะไม่มีประโยชน์เลย ที่ผู้ชมแต่ละคนจะต้องมาแย่งกันมองภาพ 3D ที่เห็นได้เพียงแค่จุดเดียว ดังนั้น Toshiba จึงได้พัฒนาวิธีการใหม่ขึ้นมาแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวนี้ โดยหน่วยประมวลผลภาพที่มีประสิทธิภาพสูงจะทำการคำนวณมุมมอง Stereoscopic Perspective ขึ้นจากภาพแต่ละภาพที่จะรวมเข้าด้วยกันเป็นภาพ 3D แล้วแสดงขึ้นมาบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูงเป็นพิเศษอย่างเช่น 3,840x2,160 พิกเซล โดยจุดภาพที่ถูกคำนวณขึ้นมานี้จะอยู่รอบๆ จุดภาพเดิมและแสดงถึงการเปลี่ยนสีระหว่างจุดภาพต้นฉบับต่างๆ จากนั้นเลนส์ Lenticular จะส่งสัญญาณจุดภาพใหม่ทุกๆ จุดออกไปในมุมมองที่เหมาะสมสำหรับตาของผู้ชมที่สามารถรับรู้ได้ ส่วนจุดภาพที่ข้างๆ จะถูกเลนส์หักเหไปจนกระทั่งถึงตาอีกข้างหนึ่ง

อย่างไร ก็ตามการรวมจุดภาพทั้งสองเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพ 3D นั้นผู้ชมจะต้องอยู่ห่างจากหน้าจอเป็นระยะประมาณ 90 เซนติเมตร โดยมีมุมมองสูงสุด 49 องศาในแนวนอน ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ชมแต่ละคนสามารถนั่งห่างกันได้มากที่สุดเพียงแค่ 80 เซนติเมตรเท่านั้น แต่โดยรวมแล้วเทคนิคดังกล่าวนี้ก็จะทำให้โทรทัศน์มี Sweet Spot ที่สามารถเห็นภาพ 3D ที่สมบูรณ์ได้ทั้งหมดถึง 9 ตำแหน่งทีเดียว
3.โทรทัศน์ที่ใช้เทคโนโลยีเสมอจริงขนาด 20 นิ้วแต่ราคาเกือบแสน
ปัจจุบัน Toshiba ให้คุณสามารถพบเทคโนโลยีเสมอจริงนี้ได้จากโทรทัศน์รุ่น Regza 20GL1 และ Regza 12GL1 ที่มีขนาด 20 นิ้วและ 12 นิ้วตามลำดับ โดยในรุ่นขนาด 20 นิ้วจะมีความละเอียด 1,280x720 พิกเซล

เนื่องจาก เลนส์ Lenticular ที่ใช้จะทำให้เห็นจุดภาพได้เพียงแค่ 1 ใน 9 เท่านั้นจากจุดภาพทั้งหมดที่ถูกแสดงขึ้นมาในเวลาเดียวกันในขณะที่รุ่นขนาด 12 นิ้วจะแสดงภาพในโหมด 3D ได้ความละเอียด 466x350 พิกเซล และเนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูงทำให้เวลานี้ Toshiba วางจำหน่ายโทรทัศน์ 3D ที่ไม่ต้องใช้แว่นตาทั้งสองรุ่นนี้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น (240,000 เยน สำหรับรุ่น 20 นิ้วและ 120,000 เยนสำหรับรุ่นขนาด 12 นิ้ว)
Toshiba 12GL1: ด้วยราคาที่แพงมาก ทำให้โทรทัศน์ขนาด 12 นิ้วเครื่องนี้ยังคงมีขายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น และระยะในการมองแค่ 65 เซนติเมตรของมันก็น้อยเกินไปสำหรับการใช้งานในห้องนั่งเล่น
Sony : เปิดตัว 3D OLED TV แบบไม่ต้องใส่แว่น (Autostereoscopic) ซึ่งถือว่า เป็นอีกก้าวกระโดดของทีวี 3 มิติ เนื่องจาก 3D TV แบบไม่ใส่แว่นส่วนใหญ่จะเป็น LED LCD TV เท่านั้นซึ่ง Philips และ Toshiba เคยเผยเปิดตัวออกมาแล้ว แต่ Sony เองก้าวกระโดดไปยังเทคโนโลยี OLED TV เลย ซึ่งมี ขนาด 23" โดดเด่นที่ความสว่างและความบาง อย่างไรก็ตามเรื่องมุมมองอาจจะมีจำกัดบ้างเพราะขนาดจอเล็ก มิติภาพอาจจะยังไม่ได้ลอยเด่นขนาดนั้น การเคลื่อนไหวเดินไปเดินมาอาจจะทำให้ท่านอยู่ในตำแหน่งการรับชมที่ไม่ได้ดี ที่สุด อาจจะเห็นมิติภาพเหลื่อมซ้อนกันได้

อนาคตของ 3D ที่สมจริงมากยิ่งขึ้น

Goal Oriented 3D
ในงาน IFA ครั้งที่ผ่านมา Philips ก็ได้มีการนำเอาโทรทัศน์ขนาด 42 นิ้วต้นแบบที่แสดงภาพ 3D ได้โดยไม่ต้องใช้แว่นตาออกมาแสดงแล้วเช่นกันและผู้ชมก็สามารถเลือกตำแหน่ง นั่งชมได้ค่อนข้างอิสระ เพียงแต่ตอนนี้คุณภาพภาพที่ได้ยังไม่น่าประทับใจนัก อีกทั้งถ้าจะผลิตออกจำหน่ายจริงๆ ราคาของมันก็ยังสูงเกินไปด้วย
Multi View 3D
สถาบันวิจัย Fraunhofer Heinrich Hertz กำลังพัฒนาจอภาพที่สามารถรู้ได้ว่าผู้ชมอยู่ตรงไหนอยู่และมันก็สามารถสร้าง Sweet Spot จำนวนมากเพื่อให้แต่ละคนเห็นภาพสามมิติในมุมมองของตนเองได้ และในขณะนี้แอปเปิลก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีโปรเจ๊กเตอร์ 3D ที่สามารถตรวจจับผู้ชมได้นี้แล้ว โดยใช้ฉากแบบพิเศษที่จะทำหน้าที่แทนเลนส์ Lenticular และกระจายภาพสามมิติไปให้กับผู้ชมทุกๆ คนโดยไม่ต้องใช้แว่นตาสามมิติใดๆ เลย

บทวิเคราะห์

ทีวี 3 มิติ ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งมาจากกระแสของภาพยนตร์ 3D ในปัจจุบันนั้น เริ่มทยอยออกมาให้เรารับชมมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากโรงภาพยนตร์ เริ่มมีโรงหนังระบบ 3D มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีภาพยนตร์ 3D ของที่ต้องออกมาคู่กัน นั่นก็คือการขายภาพยนตร์ในรูปแบบ VCD,DVD และ Blu-ray 3D แม้แต่ผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของโลกอย่าง Warner Brother ก็เริ่มหันมาผลิตแผ่นบลูเรย์ ในรูปแบบ 3มิติ ซึ่งปัจจุบันราคาจำหน่ายแผ่น 3D Blu-Ray จะอยู่ที่ 1,000-2,000 บาท ในขณะที่แผ่นบลูเรย์ทั่วไปจะอยู่ที่ 500-1,000 บาท กระทั่งบนเว็บไซต์บิตทอเรนต์ ก็เริ่มมีคอนเทนต์ 3 มิติให้ผู้บริโภคได้ดาวน์โหลดกันแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทผู้ผลิต TV ต่างๆ จึงให้ความสนใจเทคโนโลยีนี้ และต่างก็โน้มน้าวให้ผู้คนซื้อทีวี และเครื่องเล่นBlu-ray ไว้ที่บ้านเพื่อเปิดรับประสบการณ์สุดยอดของการชมภาพยนตร์ 3D ที่บ้าน การที่ผู้ผลิตหลายค่ายเริ่มลงมาทำตลาดนี้กันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันด้านของราคาและเทคโนโลยี โดยมีแนวโน้มว่ายอดการเติบโตของทีวีสามมิติในตลาดรวมจะเพิ่มสูงขึ้น

สิ่งที่ผู้ผลิตทีวีต่างคาดหวังจากทำตลาดทีวี 3 มิติไม่ต่างกัน คือ

1. ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทีวี 3 มิติจะช่วยให้แบรนด์ผู้ผลิตดูดีมี Innovation ล้ำสมัย มีพัฒนาการต่อเนื่องในสายตาผู้บริโภค
2. เทคโนโลยี 3D เป็นที่รับรู้ของผู้บริโภคดีอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะสร้างการรับรู้ให้กับตลาด
3. ต้องการสามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบและติดตามเทคโนโลยี
4. มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ชื่นชอบเทคโนโลยีมากนัก แต่ต้องการมีทีวีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เพื่อแสดงออกถึงฐานะทางสังคม

ความตื่นตาตื่นใจของการรับชมแบบ 3 มิติ ทำให้ทีวี 3 มิติ ถูกจับตาว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมทีวี ตั้งแต่ตัวเทคโนโลยี ไปจนถึงรูปแบบการขายแบบใหม่ที่ต้องขายเป็น “โซลูชั่น” เพราะการดูทีวี 3 มิติ จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริม แว่น 3 มิติ เครื่องเล่นบลูเรย์ และโฮมเธียเตอร์ และแผ่นหนัง 3 มิติ จึงจะทำให้ได้อรรถรสความรับชมแบบ 3 มิติสมบูรณ์แบบ

อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแต่มีผลต่อการตัดสินใจทั้งสิ้น ยิ่งในระยะแรกอุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถใช้ต่างยี่ห้อกันได้ เพราะเทคโนโลยีทีวี 3 มิติแบบใหม่ ได้ถูกออกแบบให้การเชื่อมโยงระหว่างจอทีวี และแว่นตาต้องใช้คลื่นความถี่ ซึ่งแต่ละรายจะใช้คลื่นความถี่ต่างกัน การขายแบบยกเซต หรือเป็นโซลูชั่น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ผลิตทุกค่ายต้องมีความพร้อมในเรื่องเหล่านี้

ผู้ผลิตทุกค่ายเห็นตรงกันว่า การตัดสินใจของผู้บริโภคในทีวี 3D เทคโนโลยีจะสำคัญมาเป็นอันดับแรก ซึ่งลูกค้ามักจะเช็คข้อมูล เปรียบเทียบสเปก ราคา โปรโมชั่น ส่วนเรื่องของแบรนด์จะมีผู้บริโภคพียงแค่ 10% เท่านั้นที่ยึดติดกับแบรนด์ ที่เหลือพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากเจอแบรนด์ไหนที่ดีกว่า

พนักงานตัวแทนขายในบริเวณร้านค้า จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นมา และเป็นส่วนที่ผู้ผลิตทุกค่ายต้องให้ความสำคัญ รวมถึงช่องทางขายทั้งแบบเก่า ต้องวางจัดดิสเพลย์ให้สวยงามมากขึ้น และต้องมีพื้นที่เฉพาะสำหรับโชว์ทีวี 3 มิติ เพราะอยู่ในช่วง Educate ลูกค้า

การมีส่วนร่วมกับผลิตเนื้อหาหรือ Content เป็นอีกภารกิจของผู้ผลิตทีวี ที่ต้องจับมือกับผู้ผลิตภาพยนต์ระดับโลก รวมถึงผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งมีผู้ผลิตภาพยนตร์หลายรายทั้งเก่าและใหม่ได้ให้ความสนใจกับหนัง 3 มิติ รวมถึงร้านจัดจำหน่ายแผ่นหนัง ซึ่งเป็นที่นิยมแฟนหนังประจำ เพื่อสร้างเครือข่ายการทำตลาด นอกโซนพื้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปยังโซนของเนื้อหา เพราะจะเป็นพื้นที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

อย่างไรก็ตาม แม้ทีวี 3D จะเข้ามามีบทบาทสร้างสีสันใหม่ของความบันเทิงภายในบ้าน ไม่ต่างไปจากการรับชมจากโรงภาพยนตร์ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ

1.ข้อจำกัดเรื่องของซอฟต์แวร์รายการที่ถ่ายทำด้วยระบบ 3 มิติยังมีน้อย
2.ความไม่สะดวกจากการที่ต้องใส่แว่นดูทีวี 3 มิติ และหลายรายเกิดอาการเวียนหัวในการรับชม
3. แบตเตอร์รี่ที่ต้องชาร์ท หรือ ใส่ถ่าน หมดเร็วทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย
4.ราคาที่ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่ม กับอุปกรณ์เสริมอย่าง เครื่องเล่นบลูเรย์ แผ่นหนัง 3 มิติ เพื่อให้ได้รับความบันเทิงของทีวี 3 มิติสมบูรณ์แบบ

ในจุดนี้เองจึงเกิดมีแนวคิดในการพัฒนาให้สามารถดูทีวี 3 มิติโดยไม่ต้องใส่แว่น เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่ ขนาดของหน้าจอที่ออกมาจำหน่ายก็มีขนาดเล็ก และยังไม่สนับสนุนการรับชมภาพยนต์แบบ Full HD แต่เชื่อว่าในอนาคตน่าจะมีการพัฒนาไปอีกขั้นเพื่อรองรับเทคโนโลยี 3D ต่าง ๆ ที่จะออกมาสู่ตลาด รวมไปถึงเกม โน้ตบุ๊ก จอมอนิเตอร์ ที่กำลังเพิ่มฟังก์ชัน 3D ออกมาให้ผู้บริโภคได้สัมผัสถึงอรรถรสที่สมจริงยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแรงบวกที่ทำให้เทคโนโลยี 3 มิติ กลายเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังมาแรง

Reference
นิตยาสาร CHIP เดือนมีนาคม 2011 Page. 20
http://www.chip.in.th/articles/details/49/Auto-Stereoscopic:-3D-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2/
http://realyknow.blogspot.com/2011/04/sony-oled-tv-3d.html
http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=87973